วันพุธที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2554

จริยธรรมและความปลอดภัยในระบบคอมพิวเตอร์และระบบสารสนเทศ

1. จงอธิบาย เปรียบเทียบ พร้อมยกตัวอย่างของไวรัส เวิร์ม และม้าโทรจัน
ตอบ - ไวรัส เวิร์ม คือ โปรแกรม คอมพิวเตอร์ที่กระจายตัวเอง เช่นเดี่ยวกับไวรัส โดยการแพร่กระจาย จากคอมพิวเตอร์ สู่คอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ โดยผ่านอีเมล์และเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เมื่อผู้ใช้เปิดไฟล์อ่าน เวิร์มจะเริ่มทำงานโดยการคัดลอกตัวเองและส่งผลจากจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ไปยังเครื่องของคนอื่น ๆ ที่มีรายชื่ออยู่ใน E-mail เช่น “Nimda, “W32.Sobig”, W32.bugbeor” “W32.blaster” and “love bug” ซึ่งเป็นไฟล์ที่แนบมากับอีเมล์ที่กำหนดหัวเรื่องว่า “Love You”ม้าโทรจัน (Trojan torse) เป็นโปรแกรมรวมแต่แตกต่าง จากไวรัสและเวิร์มที่ ม้าโทรจัน จะไม่กระจายตัวเองไปยังคอมพิวเตอร์ เครื่องอื่น ๆ แต่ ม้าโทรจันจะแฝงอยู่กับโปรแกรมอื่น ๆ ที่อาจส่งผ่านมาทางอีเมล์ เช่น Ziped_filessexe. เมื่อมีการเรียกใช้ไฟล์ โปรแกรมก็จะลบไฟล์ที่อยู่ในฮาร์ดิสก์

2. สปายแวร์ (Spyware) คืออะไร และมวิธีการติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์ได้อย่างไร
ตอบ - คือ ไวรัสที่เป็นไฟล์ภาพกราฟิก มีขนาดเล็กและซ่อนตัวอยู่ที่เว็บเพจ ที่รวบรวมข้อมูลและพฤติกรรมการท่องโลกอินเทอร์เน็ตของผู้ใช้ แล้วส่งข้อมูลเหล่านั้นกลับไปยังเครื่องเซิร์ฟเวอร์ และวิธีการติดตั้งของเครื่อง คอมพิวเตอร์ คือ การติดตั้งจากแผ่น Driver หรือ การดาว์นโหลดจากอินเทอร์เน็ตมา เช่น โปรแกรมAd-aware ,Spycop เป็นต้น

3. ท่านมีวิธีการหลีกเลี่ยงการเป็นเป้าหมายของสแปมเมลอย่างไร
ตอบ - 3.1 เป็นการบล็อกสแปมเมล์ก่อนที่เมล์เหล่านั้นจะถูกส่งไปยังกล่องจดหมาย
3.2 การติดตั้งโปรแกรม แอนตี้สแปม (Aati-Spam Program) ที่ช่วยกรองและกำจัดสแปมเมล์ก่อนที่เมล์เหล่านั้นจะถูกส่งไปยังกล่องเมล์


4. ท่านคิดว่าการทำสำเนาแผ่นซีดีเพลงเป็นการกระทำผิดจริยธรรมหรือไม่ เพราะเหตุใด และการดาวน์โหลดเพลงจากอินเทอร์เน็ตก็เช่นเดียวกัน ท่านมีความเห็นอย่างไร
ตอบ - คือ การทำสำเนาแผ่นซีดีเพลงเป็นการกระทำที่ผิดจริยธรรม เพราะซีดีเพลงที่ได้มานั้น ไม่ได้มาโดยง่ายเลย และยังเป็นลิขสิทธิ์ ของค่ายเพลงนั้นๆ ด้วย และการดาวน์โหลดเพลงจากอินเทอร์เน็ต ถือว่าผิดจริยธรรมเหมือนกัน แต่ปัจจุบันเทคโนโลยีได้มีการพัฒนาสูง ดังนั้นการดาว์นโหลดเพลงจากอินเทอร์เน็ตถือว่าเป็นเรื่องปกติ

โครงสร้างเครือข่าย

โครงสร้างเครือข่าย

1.อินทราเน็ต (intranet)
อินทราเน็ต (intranet) คือ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบภายในองค์กร ใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต ในการใช้งานอินทราเน็ตจะต้องใช้โปรโตคอล IP เหมือนกับอินเทอร์เน็ต สามารถมีเว็บไซต์และใช้เว็บเบราว์เซอร์ได้เช่นกัน รวมถึงอีเมล ถ้าเราเชื่อมต่ออินทราเน็ตของเรากับอินเทอร์เน็ต เราก็สามารถใช้ได้ทั้ง อินเทอร์เน็ต และ อินทราเน็ต ไปพร้อม ๆ กัน แต่ในการใช้งานนั้นจะแตกต่างกันด้านความเร็ว ในการโหลดไฟล์ใหญ่ ๆ จากเว็บไซต์ในอินทราเน็ต จะรวดเร็วกว่าการโหลดจากอินเทอร์เน็ตมาก ดังนั้นประโยชน์ที่จะได้รับจากอินทราเน็ต สำหรับองค์กรหนึ่ง คือ สามารถใช้ความสามารถต่าง ๆ ที่มีอยู่ในอินเทอร์เน็ตได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
เวลาที่มีการเชื่อมต่ออินทราเน็ตเข้ากับอินเทอร์เน็ต มักมีการติดตั้งไฟล์วอลสำหรับควบคุมการผ่านเข้าออกของข้อมูล ผู้ดูแลด้านความปลอดภัยในองค์กร สามารถควบคุมและจำกัดการใช้งานอินเทอร์เน็ตบางประเภท เช่น ไม่ให้เข้าไปยังเว็บไซต์ลามก หรือตรวจสอบว่าผู้ใช้รายไหนพยายามเข้าไปเว็บดังกล่าว เป็นต้น นอกเหนือจากนี้ ไฟล์วอลยังป้องกันไม่ให้บุคคลภายนอกจากอินเทอร์เน็ตเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ภายในองค์กร นอกเหนือไปจากซิร์ฟเวอร์สำหรับให้บริการซึ่งผู้บริหารเครือข่ายได้กำหนดไว้

การประยุกต์ใช้งานอินทราเน็ต

การประยุกต์ใช้อินทราเน็ตในปัจจุบันได้รับการออกแบบมาเพื่อรองรับการทำงานที่หลากหลาย อาทิเช่น การจัดการเอกสารข้อมูล, การตีพิมพ์และกระจายข่าวสาร, การจองห้องและอุปกรณ์, ห้องสนทนา (Chat Room), เว็บบอร์ด (Web Board), อัลบั้มรูป, การจัดการสมุดรายชื่อและข้อมูลการติดต่อ และอื่นๆ อีกมากมาย
โดยแนวโน้มการใช้งานของอินทราเน็ตในปัจจุบัน (พ.ศ. 2554) มีการดึงเอาสังคมออนไลน์ (Social Network) มาใช้เพื่อเชื่อมต่อและช่วยประสานการทำงานของบุคลากรภายในบริษัทหรือองค์กรที่ตั้งอยู่ห่างไกลกัน ไม่ว่าจะเป็นสาขาหรือสำนักงานในส่วนภูมิภาคให้ใกล้ชิดกันมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้พบว่าการนำเอาสังคมออนไลน์มาประยุกต์ใช้ในองค์กรได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากเทคโนโลยีในปัจจุบันสนับสนุนให้การทำงานของอินทราเน็ตเป็นมากกว่าเครือข่ายเฉพาะภายในองค์กรที่ใช้จัดเก็บเอกสารเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังสามารถดึงเอาแอพพลิเคชันต่างๆเข้ามาใช้งานร่วมกับอินทราเน็ตได้เป็นอย่างดีอีกด้วย



2.เอ็กซ์ทราเน็ต (Extranet)

เอ็กซ์ทราเน็ต หรือเครือข่ายภายนอกองค์กร ก็คือระบบเครือข่ายซึ่งเชื่อมเครือข่ายภายในองค์กร (INTRANET) เข้ากับระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ภายนอกองค์กร เช่น ระบบคอมพิวเตอร์ของสาขาของผู้จัดจำหน่าย หรือของลูกค้า เป็นต้น โดยการเชื่อมต่อเครือข่ายอาจเป็นได้ทั้งการเชื่อมต่อโดยตรง (Direct Link) ระหว่าง 2 จุด หรือการเชื่อมต่อแบบเครือข่ายเสมือน (Virtual Network) ระหว่างระบบเครือข่าย Intranet จำนวนหลายๆ เครือข่ายผ่านอินเทอร์เน็ตก็ได้ ระบบเครือข่ายแบบเอ็กซ์ทราเน็ต โดยปกติแล้วจะอนุญาตให้ใช้งานเฉพาะสมาชิกขององค์กร หรือผู้ที่ได้รับสิทธิในการใช้งานเท่านั้น โดยผู้ใช้จากภายนอกที่เชื่อมต่อเข้ามาผ่านเครือข่าย เอ็กซ์ทราเน็ต อาจถูกแบ่งเป็นประเภทๆ เช่น ผู้ดูแลระบบ สมาชิก คู่ค้า หรือผู้สนใจทั่วๆ ไป เป็นต้น ซึ่งผู้ใช้แต่ละกลุ่มจะได้รับสิทธิในการเข้าใช้งานเครือข่ายที่แตกต่างกันไป เครือข่ายเอ็กซ์ทราเน็ตเป็นเทคโนโลยีเครือข่ายที่กำลังได้รับความสนใจอย่างมาก เนื่องจากแนวโน้มการใช้งานเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่เริ่มมีการนำมาใช้ในเชิงพาณิชย์มากขึ้นเรื่อยๆ เช่น การเปิดร้านค้าบนอินเทอร์เน็ต หรือการเปิดบริการข้อมูลข่าวสารต่างๆ เป็นต้น ซึ่งบริการเหล่านี้จะต้องมีการเชื่อมต่อกับบุคคลและเครือข่ายภายนอกองค์กรจำนวนมาก จึงต้องมีระบบการจัดการการเชื่อมต่อเครือข่ายภายนอกที่มีประสิทธิภาพและความปลอดภัยที่ดี

EXTRANET (เอ็กซ์ทราเน็ต) หมายความถึง การติดต่อระบบเครือข่ายออกไปภายนอก องค์กรของเราตัวอย่างเช่นการที่เรามีระบบเครือข่ายภายในองค์กรของเราไม่ว่าจะเป็น 1 หรือ 2 เครือข่าย


บทบาทของเอ็กซ์ทราเน็ต (The Role of Extranets)
บทบาทของเครือข่ายภายนอกนั้นมีหลายประการด้วยกัน ประการแรกคือเทคโนโลยีของเว็บเบราเซอร์ ช่วยให้ลูกค้าและร้านค้าต่างๆสามารถเข้าถึงข้อมูลของเครือข่ายภายในได้อย่างสะดวกง่ายดายและรวดเร็วด้วย ประการที่สองบริษัทมีการนำเสนอเว็บไซต์ที่สามารถโต้ตอบกับหุ้นส่วนธุรกิจของบริษัทในเรื่องของการบริการได้ จะเห็นได้ว่า เครือข่ายภายนอกนี้ช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างลูกค้า และร้านค้าต่างๆ เป็นอย่างดี
ธุรกิจยังคงใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตแบบเปิด (Open Internet Technologies) หรือ เอ็กซ์ทราเน็ตอย่างต่อเนื่อง เพื่อปรับปรุงการติดต่อสื่อสารกับลูกค้าและหุ้นส่วน ทำให้ได้เปรียบคู่แข่งขัน ในการพัฒนาสินค้า การประหยัดต้นทุน การตลาด การกระจายสินค้า และเพิ่มความเป็นหุ้นส่วนเอ็กซ์ทราเน็ตเป็นเครือข่ายเชื่อมโยงซึ่งใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต เพื่อติดต่อระหว่างอินทราเน็ตของธุรกิจกับอินทราเน็ตของลูกค้า ผู้ขาย และหุ้นส่วนทางธุรกิจ โดยติดตั้งเครือข่ายส่วนตัวโดยตรงที่เชื่อมระหว่างกันหรือสร้างอินเทอร์เน็ตส่วนตัวที่มีความปลอดภัยเชื่อมโยงระหว่างกัน ที่เรียกว่า เครือข่ายส่วนตัวเสมือน (Virtual Private Network) หรือสามารถใช้อินเทอร์เน็ตเป็นเอ็กซ์ทราเน็ตที่เชื่อมโยงระหว่างอินทราเน็ตของบริษัทกับผู้บริโภคและอื่นๆ มูลค่าทางธุรกิจของเอ็กซ์ทราเน็ตได้มาจากหลายปัจจัย ปัจจัยแรก คือ เทคโนโลยีเว็บบราวเซอร์ของ เอ็กซ์ทราเน็ต ทำให้ลูกค้าและผู้ขายเข้าถึงทรัพยากรอินทราเน็ตได้ง่ายขึ้นและเร็วขึ้นกว่าวิธีการทางธุรกิจแบบเดิม ปัจจัยที่สอง เอ็กซ์ทราเน็ตทำให้บริษัทสามารถเสนอบริการเชิงเว็บประเภทใหม่ที่น่าสนใจให้แก่หุ้นส่วนทางธุรกิจ ดังนั้น จึงเป็นอีกหนทางที่ธุรกิจสามารถสร้างและทำให้เกิดกลยุทธ์ความสัมพันธ์ระหว่างลูกค้ากับผู้ขาย ทำให้เกิดการปรับปรุงความร่วมมือระหว่างธุรกิจกับลูกค้าและหุ้นส่วนทางธุรกิจ อำนวยความสะดวกแบบออนไลน์ให้แก่การพัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงโต้ตอบ การตลาด และกระบวนการที่เน้นลูกค้า

ตัวอย่างของเอ็กซ์ทราเน็ต
Countrywide Home Loans ได้สร้างเอ็กซ์ทราเน็ต ที่เรียกว่า Platinum Lender Access สำหรับหุ้นส่วนกู้ยืม นายหน้า และธนาคารประมาณ 500 แห่ง ให้สามารถเข้าถึงอินทราเน็ตและฐานข้อมูลการเงิน เข้าถึงบัญชีและสารสนเทศรายการเปลี่ยนแปลง สถานะเงินกู้ และประกาศของบริษัท ผู้ให้กู้และนายหน้าแต่ละรายถูกระบุตัวอัตโนมัติโดยเอ็กซ์ทราเน็ต ซึ่งได้จัดเตรียมสารสนเทศในเรื่องของอัตราเบี้ยประกัน ส่วนลด และข้อตกลงพิเศษอื่นๆ Marshall Industries ใช้เอ็กซ์ทราเน็ตเพื่อให้ลูกค้าและผู้ขายสามารถเข้าถึงทรัพยากรอินทราเน็ตของ Marshall ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ที่เรียกว่า Partner Net เช่น ผู้ขายสามารถใช้ระบบจุดขาย (Point–of-sale) เพื่อรายงานสถานะของสินค้าคงคลังได้ทุกเวลา ลูกค้าสามารถตรวจสอบสถานะของสินค้าที่ต้องการ เช่นเดียวกับสถานะคำสั่งซื้อที่ได้สั่งซื้อไว้ก่อนหน้า ซึ่งเอ็กซ์ทราเน็ตได้ช่วยเพิ่มยอดขายและกำไร ขณะที่ตัดพนักงานขายและค่าใช้จ่ายลง

ตัวอย่างของเครือข่ายภายนอก (Extranets Example) มีธนาคารกว่า 500 แห่งและนายหน้าต่างๆ สามารถเข้าถึงข้อมูลโดยผ่าน Intranet และเลือกฐานข้อมูลทางด้านการเงินต่างๆ นอกจากนี้ เอ็กทราเน็ตยังอำนวยความสะดวกในการให้นายหน้าเหล่านั้น สามารถเข้าถึงบัญชีของเขา ,การประมวลผล สารสนเทศ, สถานการณ์ให้เช่ายืม และการประกาศข่าวสารต่างๆ ของบริษัท ในโรงงานอุตสาหกรรม Marshall มีการใช้ Extranets โดยมีชื่อเรียกว่า Partner Net

อนาคตของเอ็กทราเน็ต (Extranets)

1. US West Facility Check บริษัท US West ได้นำ Intranets มาประยุกต์ใช้ โดยมีชื่อเรียกว่า Facility Check โดยใช้งานด้านการบริการข่าวให้กับพนักงาน, บริการสารสนเทศให้กับพนักงาน, ใช้ในการอ้างอิงเกี่ยวกับวัตถุดิบ, อำนวยความสะดวกในฐานะเป็นชุมชนของพนักงาน, จัดเก็บรายละเอียด ของผลิตภัณฑ์, ใช้ดูรายละเอียดเกี่ยวกับบริษัทคู่แข่ง เป็นต้น ใน 2-3 ปี ที่ผ่านมาเศรษฐกิจเจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยความต้องการของลูกค้ามีเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากเกี่ยวกับการใช้สายโทรศัพท์ เหตุผลเพราะสามารถ ใช้บริการผ่านอินเตอร์เน็ตได้
2. การวางแผนอื่นๆ ในอนาคต (Other Plans for the Future) บริษัท Chrysler มีการใช้ Intranets ใน 7 หน่วยงานหลักๆ One Servers สามารถสนับสนุนวิศวกรได้ถึง 6,000 คน และยังสามารถช่วยจัดการ เกี่ยวกับเรื่องงบประมาณทางด้านบัญชี และผู้ใช้คนอื่นๆ ก็ยังสามารถเข้ามาดูสารสนเทศด้านการเงินได้, มีการสร้างความสัมพันธ์กับสถานที่สาธารณะอื่นๆ เช่น หน่วยงานราชการ, นอกจากนี้ยังมีการขยายออกไป โดยใช้อินเตอร์เน็ต นั่นคือสร้างเว็บไซต์ขึ้นมาช่วยงานด้านวารสารสิ่งพิมพ์บริษัท Entergy ใช้ Intranets ผ่าน Entergy Net บริการ พนักงาน 12,000 คนในรัฐต่างๆ บางคนก็ใช้ในการเรียกดูสารสนเทศของตนเอง, บางคนก็มีการอ่านข่าวจากแผงข่าวอิเล็กทรอนิกส์ และมีการ ส่งข่าวของตนเองไปประกาศบนแผงข่าวด้วย US West วางแผนจะขยาย Global Village Intranets นั่นคือมีการเชื่อมโยงการสื่อสาร ถึงกันในหมู่บ้าน โดยให้ลูกบ้านสามารถเข้าถึงข้อมูลในเครื่องเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ และมีการใช้อินทราเน็ต ส่งจดหมายข่าวถึงกันภายในบริษัท, มีการประกาศข่าวผ่านแผงข่าวอิเล็กทรอนิกส์ และส่งข่าวสารเกี่ยวกับ นโยบายของบริษัทให้ผู้คนได้รับทราบ สำหรับพนักงานของบริษัทบางคนก็ใช้อินทราเน็ตในการจัดทำรายงาน ของตนเอง และใช้ในการค้นหางานจากบริษัทต่างๆ
 
1. ผู้ประกอบการกับผู้ประกอบการ B2B

 
 

คำศัพท์คอมพิวเตอร์

HTML คืออะไร     HTML ย่อมาจากคำว่า Hyper Text Markup Language เป็นภาษาหลักที่ใช้ในการสร้างโฮมเพจ

ใช้อะไรในการเขียน HTML
     การสร้างไฟล์   HTML  เราสามารถสร้างจาก Text  Editor เช่นจาก Notepad หรือ  Wordpad ก็ได้แต่สำหรับการ Save ไฟล์ เราจำเป็นต้องใส่  " ชื่อไฟล์ . html "   ซึ่งถ้าหากคุณไม่ใส่  " " จะ กลายเป็นไฟล์   .TXT แทน  ในปัจจุบัน มีโปรแกรมต่าง ๆ มากมายที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในหารเขียนโค้ด html เช่นโปรแกรม Macromedia Dreamweaver ปัจจุบันเวอร์ชั่น CS4 แล้ว มีความง่ายและสะดวกในการสร้าง html ขึ้นมา ด้วย Tool ต่าง ๆ ของโปรแกรมครับ

โครงสร้างพื้นฐาน HTML

        โครงสร้าง HTML ประกอบด้วย 2 ส่วนสำคัญคือ
                1. ส่วนหัว ( Head )
                2. ส่วนเนื้อหา ( Body )
เว็บเพจ (webpage)
หมายถึง หน้าหนึ่ง ๆ ของเว็บไซต์ ที่เราเปิดขึ้นมาใช้งาน
โดยทั่วไป เว็บเพจส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของเอกสาร HTML หรือ XHTML (ซึ่งมักมีนามสกุลไฟล์เป็น htm หรือ html) มีลิงก์สำหรับเชื่อมโยงไปยังเว็บเพจหน้าอื่น ๆ สามารถใส่รูปภาพและรูปภาพยังสามารถเป็นลิงก์ กล่าวคือสามารถคลิกบนรูปเพื่อกระโดดไปหน้าอื่นได้ นอกจากนี้ยังสามารถใส่แอพเพล็ต (applet) ซึ่งเป็นโปรแกรมขนาดเล็กแสดงภาพเคลื่อนไหว มีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้ หรือสร้างเสียง ได้อีกด้วย

โปรแกรมที่ใช้เปิดดูเว็บเพจ เรียกว่า เว็บเบราว์เซอร์ ตัวอย่างเว็บเบราว์เซอร์ที่เป็นที่นิยม เช่น อินเทอร์เน็ตเอ็กซ์พลอเรอร์, Netscape, มอซิลลา ไฟร์ฟอกซ์, และ ซาฟารี เป็นต้น

โปรแกรมสำหรับสร้างเว็บเพจ เช่น โปรแกรม Macromedia Dreamweaver , PHP & MySQL , Flash Professional เป็นต้น
 
home page คืออะไร
โฮมเพจ  คือ หน้าแรกที่แสดงข้อมูลของเว็บไซต์ หรือ WWW (World Wide Web) เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ หรือ เป็นการดึงดูด ให้เข้าไปชมข้อมูลภายใน  ซึ่งภายในโฮมเพจอาจมีเอกสารข้อความอื่นๆที่เรียกว่า เว็บเพจ (web page) เชื่อมโยงต่อจากโฮมเพจนั้นได้อีกเป็นจำนวนมากคะ
 

www คืออะไร

เวิลด์ไวด์เว็บ (อังกฤษ: World Wide Web, WWW, W3 ; หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า "เว็บ") คือพื้นที่ที่เก็บข้อมูลข่าวสารที่เชื่อมต่อกันทางอินเทอร์เน็ต โดยการกำหนด URL คำว่าเวิลด์ไวด์เว็บมักจะใช้สับสนกับคำว่า อินเทอร์เน็ต โดยจริงๆแล้วเวิลด์ไวด์เว็บเป็นเพียงแค่บริการหนึ่งบนอินเทอร์เน็ต


Web browser คือ
เว็บเบราว์เซอร์ (web browser) เบราว์เซอร์ หรือ โปรแกรมดูเว็บ คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ผู้ใช้สามารถดูข้อมูลและโต้ตอบกับข้อมูลสารสนเทศที่จัดเก็บในหน้าเวบที่สร้างด้วยภาษาเฉพาะ เช่น ภาษาเอชทีเอ็มแอล (html) ที่จัดเก็บไว้ที่ระบบบริการเว็บหรือเว็บเซิร์ฟเวอร์ หรือระบบคลังข้อมูลอื่น ๆ โดยโปรแกรมค้นดูเว็บเปรียบเสมือนเครื่องมือในการติดต่อกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เรียกว่าเวิลด์ไวด์เว็บ
ประโยชน์ของ Web Browser
สามารถดูเอกสารภายในเว็บเซิร์ฟเวอร์ได้ อย่างสวยงามมีการแสดงข้อมูลในรูปของ ข้อความ ภาพ และระบบมัลติมีเดียต่างๆ ทำให้การดูเอกสารบนเว็บมีความน่าสนใจมากขึ้น ส่งผลให้อินเตอร์เน็ตได้รับความนิยมเป็นอย่างมากเช่นในปัจจุบัน ปัจจุบัน web browser ส่วนใหญ่จะรองรับ html 5 และ อ่าน css เพื่อความสวยงามของหน้า web page
โปรโตคอล (Protocol) คือ

โปรโตคอล (Protocol) คือระเบียบพิธีการในการติดต่อสื่อสาร เมื่อมาใช้กับเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม จึงหมายถึงขั้นตอนการติดต่อสื่อสาร ซึ่งรวมถึง กฎ ระเบียบ และข้อกำหนดต่าง ๆ รวมถึงมาตรฐานที่ใช้ เพื่อให้ตัวรับและตัวส่งสามารถดำเนินกิจกรรมทางด้านสื่อสารได้สำเร็จ

IP Address คือ
หมายเลขประจำเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งประกอบด้วยตัวเลข 4 ชุด มีเครื่องหมายจุดขั้นระหว่างชุด?ตัวอย่าง IP Address 192.168.0.1? เป็นต้น
การสื่อสารและรับส่งข้อมูลในระบบ Internet สิ่งสำคัญคือที่อยู่ของคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง ดังนั้นเพื่อให้เกิดความถูกต้องแม่นยำ จึ่ง ได้มีการกำหนดหมายเลขประจำเครื่องที่เราเรียกว่า IP Address และเพื่อไม่ให้เกิดความสับสนและซ้ำกัน จึงได้มีการก่อตั้งองค์กรเพื่อ แจกจ่าย IP Address โดยเฉพาะ ชื่อองค์กรว่า InterNIC (International Network Information Center) อยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา การแจกจ่ายนั้นทาง InterNIC จะแจกจ่ายเฉพาะ Network Address ให้แต่ละเครือข่าย ส่วนลูกข่ายของเครือง ทางเครือข่ายนั้นก็จะเป็น ผู้แจกจ่ายอีกทอดหนึ่ง ดังนั้นพอสรุปได้ว่า IP Address จะประกอบด้วยตัวเลข 2 ส่วน


Domain Name คือ
ชื่อที่ใช้ในการอ้างอิงเพื่อไปยัง Website ต่างๆ ที่อยู่บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตชื่อที่ใช้ต้องเป็นชื่อที่ไม่มีใครในโลกใช้เพราะถ้ามีคนใช้ชื่อใดแล้วเราจะไปจดชื่อซ้ำไม่ได้ ชื่อ Domain Name จะเป็นตัวอักษรพิมพ์ใหญ่หรือพิมพ์เล็ก ไม่แตกต่างกันเพราะ ระบบอินเตอร์เน็ตจะรับรู้ตัวอักษรเป็นตัวเล็กทั้งหมด เช่น ITTradefair.com และ ittradefair.com ถือว่าเป็นชื่อเดียวกัน ส่วนประกอบใหญ่ๆ สามส่วนคือ ชื่อเครื่อง. เช่น DomainAtCost.com ,ThaiCompany.net ฯลฯ ในปัจจุบันได้มีการจดชื่อโดเมนถึงกว่า 30 ล้านชื่อทั่วโลกและ ชื่อโดเมนก็มักจะถูกนำมาใช้เป็นสัญลักษณ์ หรือเครื่องหมายการค้าของ Website ต่างๆ ด้วยโดยชื่อโดเมนจะประกอบไปด้วย 2 ส่วน คือ

Standdard Plan ส่วนของชื่อ ซึ่งอาจเป็นชื่อของบุคคล นิติบุคคล องค์กร เครื่องหมายการค้า หรืออื่นๆ ที่ต้องการจะสื่อให้เป็นตัวแทนของ Website นั้นๆ เช่น DomainAtCost, ThaiCompany ฯลฯ

Standdard Plan ลักษณะการประกอบการของ Website นั้นๆ เช่น .com, .net ฯลฯ (คล้ายๆ กับคำแสดงนิติฐานะของนิติบุคคล เช่น บริษัทจำกัด กระทรวง สมาคม องค์การ ฯลฯ

Hyperlink คือ
การเชื่อมโยงหลายมิติ (Hyperlink) ซึ่งมักเรียกกันย่อๆ ว่า "ลิงค์" หมายถึงจุดเชื่อมโยงบนหน้าเว็บเพจ ซึ่งอาจมีลักษณะเป็นข้อความ ปุ่มกดหรือรูปภาพ ที่สามารถคลิกเพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงโดยจะส่งให้ผู้ใช้ไปสู่เว็บเพจหน้าอื่น ไปที่ทรัพยากรอื่น รวมทั้งไปยังโปรแกรมที่มีการทำงานในเว็บเพจเหล่านั้น

การจัดการระบบสารสนเทศ

การจัดการระบบสารสนเทศ

ความหมายของ ISP

ISP มาจากคำว่า Internet Service Provider ความหมายว่า  ”ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต”   ISP เป็นหน่วยงานที่บริการให้เชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของบริษัท เข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทั่วโลก
ในปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตอยู่ด้วยกัน 2 ประเภท คือ
1. หน่วยงานราชการหรือสถาบันการศึกษา ISP ที่เป็นหน่วยงานราชการ หรือสถาบันการศึกษา มักจะเป็นการให้บริการฟรีสำหรับสมาชิกขององค์การเท่านั้น
2. บริษัทผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ทั่วไป ISP ประเภทที่ให้บริการในเชิงพาณิชย์ ผู้ใช้ที่ต้องการใช้งานอินเทอร์เน็ตจะต้องสมัครเข้าเป็นสมาชิกของ ISP รายนั้นๆ ซึ่งต้องเสียค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการใช้งานอินเทอร์เน็ต ซึ่งอัตราค่าบริการจะขึ้นอยู่กับ ISP แต่ละราย

ความหมายของโมเด็มmode
หมายถึง : โมเด็ม เป็นคำย่อของคำว่า modulator/demodulator เป็นเครื่องมือสำหรับใช้ในการสื่อสารอย่างหนึ่ง ซึ่งเมื่อต่อเชื่อมโยงโมเด็มเข้ากับคอมพิวเตอร์ และสายโทรศัพท์แล้ว จะสามารถทำให้คอมพิวเตอร์สามารถส่งสารสนเทศผ่านไป ตามสายโทรศัพท์ได้ โมเด็ม จะทำหน้าที่เปลี่ยนสัญญาณอนาล็อก เพื่อส่งผ่านตามสายโทรศัพท์ และเมื่อถึงปลายสาย โมเด็มที่ปลายสายจะเปลี่ยนสัญญาณอนาล็อก ให้กลับเป็นสัญญาณดิจิตอลเข้าสู่คอมพิวเตอร์ปลายสายอีกครั้งหนึ่ง โมเด็ม จะถ่ายทอดสัญญาณ ด้วยความเร็วจาก 300-9600 baud

หน้าที่และคุณสมบัติ ของ โมเด็ม

โมเด็น (Modem)เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณ คอมพิวเตอร์ให้สามารถเชื่อมคอมพิวเตอร์ที่อยู่ระยะไกลเข้าหากันได้ด้วยการ ผ่านสายโทรศัพท์ โดยโมเด็ม จะทำหน้าที่แปลงสัญญาณ ซึ่งแบ่งออกเป็นทั้งภาคส่ง และภาครับ โดยภาคส่งจะทำการแปลงสัญญาณคอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณโทรศัพท์ (Digital to Analog) ในขณะที่ภาครับนั้นจะทำการแปลงสัญญาณโทรศัพท์กลับมาเป็นสัญญาณคอมพิวเตอร์ (Analog to Digital) ดังนั้นในการเชื่อมต่อข่ายระยะไกลๆ เช่น อินเทอร์เน็ต จึงจำเป็นต้องใช้โมเด็ม โดยโมเด็มมีทั้งแบบภายใน (Internal Modem) ที่มีลักษณะเป็นการ์ด, โมเด็มภายนอก (External Modem) ที่มีลักษณะเป็นกล่องแยกออกต่างหาก และรวมถึงโมเด็มที่เป็นแบบ PCMCIA ที่มักใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค นอกจากนี้แล้ว ก็ยังมีระบบปฏิบัติการเครือข่าย (Network Operating System) ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ สำคัญตัวหนึ่งในการทำทั้งเครื่องศูนย์บริการและเครื่องลูกข่ายสามารถสื่อสาร ติดต่อกันได้ รวมทั้งการจัดการทรัพยากรให้สามารถใช้ร่วมกันได้และการควบคุมระบบความ ปลอดภัยบนเครือข่าย
LAN Card Driver
LAN Card (LAN ย่อมาจาก Local Area Network) เป็นอุปกรณ์สำคัญในการเชื่อมต่อเข้าระบบเครือข่าย ไม่ว่าจะเป็นเครือข่ายระดับท้องถิ่น เครือข่ายระดับประเทศ หรือเครือข่ายระดับโลกอย่างเช่น อินเทอร์เน็ต ลักษณะของการ์ดแลน โดยทั่วไป จะเป็นแผงวงจรสี่เหลี่ยม เช่นเดียวกันกับ การ์ดจอ แต่สำหรับเครื่อง notebook การ์ดแลน มักจะทำในรูปแบบของ PCMCIA ซึ่งจะมีขนาดเล็กประมาณบัตรเครติด



เครือข่ายดิจิตอลความเร็วสูง
SDH เป็นคำศัพท์ที่กำลังได้รับการกล่าวถึงอย่างมากทางหน้าหนังสือพิมพ์ หลายคนคงอยากรู้ถึงเทคโนโลยีเครือข่าย SDH ว่ามีลักษณะอย่างไร มีความเป็นมาหรือแนวโน้มที่น่าสนใจอะไรบ้าง
SDH ย่อมาจาก Synchronous Digital Heirarchy SDH เป็นคำศัพท์ที่มีความหมายถึงการวางลำดับการสื่อสารแบบซิงโครนัสในตัวกลางความเร็วสูง ซึ่งโดยปกติใช้สายใยแก้วเป็นตัวนำสัญญาณ การสื่อสารภายในเป็นแบบซิงโครนัส คือส่งเป็นเฟรม และมีการซิงค์บอกตำแหน่ง เริ่มต้นเฟรมเพื่อให้อุปกรณ์รับตรวจสอบสัญญาณข้อมูลได้ถูกต้อง มีการรวมเฟรมเป็นช่องสัญญาณที่แถบกว้างความเร็วสูงขึ้น และจัดรวมกันเป็นลำดับ เพื่อใช้ช่องสื่อสารบนเส้นใยแก้วนำแสง
ความเป็นมาของ SDH มีมายาวนานแล้ว เริ่มจากการจัดการโครงข่ายสายโทรศัพท์ ซึ่งสัญญาณโทรศัพท์ได้เปลี่ยนเป็นดิจิตอล โดยช่องสัญญาณเสียงหนึ่งช่องใช้สัญญาณแถบกว้าง 64 กิโลบิต แต่ในอดีตการจัดมาตรฐานลำดับชั้นของเครือข่ายสัญญาณเสียงยังแตกต่างกัน เช่นในสหรัฐอเมริกา มีการจัดกลุ่มสัญญาณเสียง 24 ช่อง เป็น 1.54 เมกะบิต หรือที่เรารู้จักกันในนาม T1 และระดับต่อไปเป็น 63.1, 447.3 เมกะบิต แต่ทางกลุ่มยุโรปใช้ 64 กิโลบิตต่อหนึ่งสัญญาณเสียง และจัดกลุ่มต่อไปเป็น 32 ช่องเสียงคือ 2.048 เมกะบิต ที่รู้จักกันในนาม E1 และจัดกลุ่มใหญ่ขึ้นเป็น 8.44, 34.36 เมกะบิต
การวางมาตรฐานใหม่สำหรับเครือข่ายความเร็วสูงจะต้องรองรับการใช้งานต่าง ๆ ทั้งเครือข่ายสัญญาณโทรศัพท์ และสัญญาณมัลติมีเดียอื่น ๆ เช่น สัญญาณโทรทัศน์ ข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต และที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอีกได้ คณะกรรมการจัดการมาตรฐาน SDH จึงรวมแนวทางต่าง ๆ ในลักษณะให้ยอมรับกันได้ โดยที่สหรัฐอเมริกา เรียกว่า SONET ดังนั้นจึงอาจรวมเรียกว่า SDH/SONET การเน้น SDH/SONET ให้เป็นกลางที่ทำให้เครือข่ายประยุกต์ใช้งานต่าง ๆ วิ่งลงตัวได้จึงเป็นเรื่องสำคัญ
เนื่องจากโครงข่ายของ SDH/SONET ใช้เส้นใยแก้วนำแสงเป็นหลัก โดยวางแถบกว้าง พื้นฐานระดับต่ำสุดไว้ที่ 51.84 เมกะบิต โดยที่ภายในแถบกว้างนี้จะเป็นเฟรมข้อมูลที่สามารถนำช่องสัญญาณเสียงโทรศัพท์ หรือการประยุกต์อื่นใดเข้าไปรวมได้ และยังรวมระดับช่องสัญญาณต่ำสุด 51.84 เมกะบิตนี้ให้สูงขึ้น เช่นถ้าเพิ่มเป็นสามเท่าของ 51.84 ก็จะได้ 155.52 ซึ่งเป็นแถบกว้างของเครือข่าย ATM
โมเดลของ SDH แบ่งออกเป็นสี่ชั้น เพื่อให้มีการออกแบบและประยุกต์เชื่อมต่อได้ตาม มาตรฐานหลัก
ชั้นแรกเรียกว่าโฟโตนิก เป็นชั้นทางฟิสิคัลที่เกี่ยวกับการเชื่อมเส้นใยแก้วนำแสง และอุปกรณ์ประกอบทางด้านแสง
ชั้นที่สอง เป็นชั้นของการแปลงสัญญาณแสง เป็นสัญญาณไฟฟ้า หรือในทางกลับกัน เมื่อแปลงแล้วจะส่งสัญญาณไฟฟ้าเชื่อมกับอุปกรณ์สื่อสารอื่น ๆ ชั้นนี้ยังรวมถึงการจัดรูปแบบเฟรมข้อมูล ซึ่งเป็นเฟรมมาตรฐาน แต่ละเฟรมมีลักษณะชัดเจนที่ให้อุปกรณ์ตัวรับและตัวส่งสามารถซิงโครไนซ์เวลากันได้ เราจึงเรียกระบบนี้ว่า ซิงโครนั
ชั้นที่สามเป็นชั้นที่ว่าด้วยการรวมและการแยกสัญญาณ ซึ่งได้แก่วิธีการมัลติเพล็กซ์ และดีมัลติเพล็กซ์ เพราะข้อมูลที่เป็นเฟรมนั้นจะนำเข้ามารวมกัน หรือต้องแยกออกจากกัน การกระทำต้องมีระบบซิงโครไนซ์ระหว่างกันด้วย
ชั้นที่สี่ เป็นชั้นเชื่อมโยงขนส่งข้อมูลระหว่างปลายทางด้านหนึ่งไปยังปลายทางอีกด้านหนึ่ง เพื่อทำให้เกิดวงจรการสื่อสารที่สมบูรณ์ ในการสื่อสารระหว่างอุปกรณ์หนึ่งไปยังอีกอุปกรณ์หนึ่งจึงเสมือนเชื่อมโยงถึงกันในระดับนี้
เพื่อให้การรับส่งระหว่างปลายทางด้านหนึ่งไปยังอีกปลายทางด้านหนึ่งมีลักษณะสื่อสารไปกลับได้สมบูรณ์ การรับส่งจึงมีการกำหนดแอดเดรสของเฟรมเพื่อให้การรับส่งเป็นไปอย่างถูกต้อง กำหนดโมดูลการรับส่งแบบซิงโครนัส ที่เรียกว่า STM - Synchronous Transmission Module โดย เฟรมของ STM พื้นฐาน มีขนาด 2430 ไบต์ โดยส่วนกำหนดหัวเฟรม 81 ไบต์ ขนาดแถบกว้างของการรับส่งตามรูปแบบ STM จึงเริ่มจาก 155.52 เมกะบิตต่อวินาที ไปเป็น 622.08 และ 2488.32 เมกะบิตต่อวินาที จะเห็นว่า STM ระดับแรกมีความเร็ว 155.52 เมกะบิตต่อวินาที ซึ่งเป็น 3 เท่าของแถบกว้างพื้นฐานของ SDH ที่ 51.84 เมกะบิตต่อวินาที STM จึงเป็นส่วนหนึ่งที่อยู่ภายใน SDH ด้วย
เมื่อพิจารณาให้ดีจะเห็นว่า ผู้ออกแบบมาตรฐาน SDH ต้องการให้เป็นทางด่วนข้อมูลข่าวสาร ที่จะรองรับระบบเครือข่ายโทรศัพท์ที่มีอัตราการส่งสัญญาณกันเป็น T1, T3, หรือ E1, E3 ขณะเดียวกันก็รองรับเครือข่าย ATM (Asynchronous Transfer Mode) ที่ใช้ความเร็วตามมาตรฐาน STM ดังที่กล่าวแล้ว โดยที่ SDH สามารถเป็นเส้นทางให้กับเครือข่าย ATM ได้หลาย ๆ ช่องของ ATM ในขณะเดียวกัน
SDH จึงเสมือนถนนของข้อมูลที่ใช้เส้นใยแก้วนำแสงเพื่อรองรับแถบกว้างของสัญญาณสูง ขณะเดียวกันก็ใช้งานโดยการรวมสัญญาณข้อมูลต่าง ๆ เข้ามาร่วมใช้ทางวิ่งเดียวกันได้
SDH จึงเป็นโครงสร้างพื้นฐาน เสมือนหนึ่งเป็นถนนเชื่อมโยงที่ต่าง ๆ เข้าด้วยกัน ที่สำคัญคือ ถนนเหล่านี้จะเป็นทางด่วนที่รองรับการประยุกต์ใช้งานในอนาคต
SDH หรือทางด่วนข้อมูล จะเกิดได้หรือไม่ คงต้องคอยดูกันต่อไป


เทคโนโลยีสมัยใหม่ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์

เทคโนโลยีสมัยใหม่ ทางด้านฮาร์แวร์


ฮาร์ดแวร์(Hardware)
คือ อุปกรณ์ต่างๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็นโครงร่างสามารถมอง เห็นด้วยตาและสัมผัสได้ (รูปธรรม) เช่น จอภาพ คีย์บอร์ด เครื่องพิมพ์ เมาส์ เป็นต้น ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นส่วนต่างๆ ตามลักษณะการทำงาน ได้ 4 หน่วย คือ 1. หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) 2. หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU) 3. หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (Secondary Storage) 4. หน่วยแสดงผล (Output Unit)
ไมโครซอฟท์ ฮาร์ดแวร์ เปิดตัว 2 คีย์บอร์ดรุ่นใหม่ โดดเด่นด้วยดีไซน์ เต็มเปี่ยมด้วยประสิทธิภาพ
ไมโครซอฟท์ ฮาร์ดแวร์ หนึ่งในหน่วยธุรกิจที่สำคัญของไมโครซอฟท์ เปิดตัว 2 คีย์บอร์ดรุ่นใหม่ที่ได้รับการออกแบบให้ส่งเสริมประสบการณ์ในการใช้พีซีที่ดียิ่งกว่าเดิม ด้วยความสะดวกสบายในการใช้งานและคุณภาพที่เหนือชั้น พร้อมตอบสนองทุกความต้องการ



โดยคีย์บอร์ดรุ่นล่าสุด ทั้ง 2 รุ่น ได้แก่ Arc Keyboard คีย์บอร์ดสำหรับพกพาที่มาพร้อมดีไซน์ทันสมัย และ Sidewinder X4 Keyboard คีย์บอร์ดที่เหมาะอย่างยิ่งสำหรับคอเกมส์ด้วยปุ่มกดที่สามารถตั้งโปรแกรมได้ พร้อมแสงไฟจากด้านหลัง และโหมด ‘anti-ghosting’ ที่ช่วยให้คอเกมส์ทั้งหลายสามารถกดปุ่มคีย์บอร์ดได้หลายๆ ปุ่มในเวลาเดียวกัน



นายชัชวาล จิตติกุลดิลก ผู้จัดการฝ่ายขาย กลุ่มอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์และเอ็นเตอร์เทนเม้นท์ บริษัทไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “นับตั้งแต่ปี 1982 ไมโครซอฟท์ ฮาร์ดแวร์ ได้สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่เปี่ยมด้วยประสิทธิภาพ ผสานกับดีไซน์ที่ลงตัวและนวัตกรรมที่เหนือชั้น หลังจากความสำเร็จจากการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ฮาร์ดแวร์ที่รองรับการใช้งานวินโดวส์ 7 เมื่อปีที่ผ่านมา ในวันนี้ เราได้ออกคีย์บอร์ดรุ่นใหม่ 2 รุ่น ที่ทำงานได้เป็นอย่างดีกับวินโดวส์รุ่นที่ผ่านมา และทำงานได้อย่างดีเยี่ยมกับวินโดวส์ 7 โดยเป้าหมายหลักของเราคือ การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่มีดีไซน์สวยงาม ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในราคาที่เหมาะสม เรามั่นใจเป็นอย่างยิ่งว่าทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ของไมโครซอฟท์จะนำประสบการณ์การใช้งานคอมพิวเตอร์ที่ดีที่สุดมาให้แก่ผู้ใช้งานทุกคน”

Microsoft Arc Keyboard



Microsoft Arc Keyboard มีดีไซน์ที่คล้ายคลึงกับ Arc Mouse เมาส์ดีไซน์พระจันทร์เสี้ยวที่มียอดขายถล่มทลาย โดย Arc Keyboard ผสมผสานความโค้งมนในการออกแบบเข้ากับลายเส้นที่เรียบง่าย พร้อมคุณสมบัติที่เหมาะกับการพกพาและน้ำหนักที่เบา ด้วยน้ำหนักที่น้อยกว่า 1 ปอนด์ ผู้ใช้งานสามารถเคลื่อนย้ายคีย์บอร์ดได้อย่างสะดวก ทั้งยังสามารถวางคีย์บอร์ดไว้บนหน้าขาได้ ทำให้สะดวกไม่ว่าจะใช้ทำงานงานที่เก้าอี้โซฟา หรือที่เคาน์เตอร์ในห้องครัว ด้วยดีไซน์ที่กะทัดรัดและไม่เหมือนใคร Arc Keyboard จึงกลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทั้งเป็นประโยชน์และทันสมัย เหมาะกับทุกไลฟ์สไตล์

Arc Keyboard ยังมีทรานซิฟเวอร์ขนาดจิ๋วแบบ snap-in ที่ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถเสียบทรานซิฟเวอร์ไว้กับคอมพิวเตอร์ได้ หรือ สะดวกสำหรับสอดเก็บไว้ข้างใต้คีย์บอร์ด นอกจากนี้ ยังมี four-way directional pad ที่ทำให้ผู้ใช้งานสามารถใช้ปุ่มแอร์โรว์คีย์ได้โดยที่ใช้พื้นที่น้อยลง ทั้งยังมีเทคโนโลยีไวร์เลส 2.4 GHz ที่ช่วยให้มั่นใจว่าผู้ใช้งานจะสามารถใช้งานได้ไกลถึง 15 ฟุต แม้ในสภาพแวดล้อมที่มีการใช้งานไวร์เลสหนาแน่น

Microsoft Sidewinder X4 Gaming Keyboard



SideWinder X4 Keyboard ได้รับการออกแบบเป็นพิเศษสำหรับผู้ใช้งานเกมส์ให้สามารถควบคุมประสบการณ์ในการเล่นเกมส์ได้มากยิ่งขึ้น ด้วยเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยอย่าง anti-ghosting ผู้ใช้งานจึงสามารถกดปุ่มคีย์บอร์ดได้ถึง 26 ปุ่มในเวลาเดียวกัน และยังมั่นใจได้ว่าคีย์บอร์ดจะสามารถจดจำรหัสลับเกมส์ต่างๆ ได้เพื่อให้เกิดอรรถรสในการเล่นเกมส์ที่เพลิดเพลินยิ่งขึ้น



คีย์บอร์ดรุ่นใหม่นี้ยังมาพร้อมกับฟีเจอร์ในการเล่นเกมส์ขั้นเทพ อาทิ macro recording สำหรับจดจำคีย์ลัดในการเล่นเกมส์ โหมดอัตโนมัติ และ โหมดการเปลี่ยนผู้เล่น นอกจากนี้ ยังสามารถปรับแสงไฟด้านหลังคีย์บอร์ด และมีปุ่มลัดเพื่อเข้าถึงสื่อบันเทิงต่างๆ ได้อย่างง่ายดาย



ราคาและการวางจำหน่าย



คีย์บอร์ดรุ่นใหม่ล่าสุดทั้ง 2 รุ่นนี้ จะออกวางจำหน่ายตั้งแต่ภายในเดือนมีนาคม 2553 นี้ เป็นต้นไป โดย Microsoft Arc Keyboard มีราคา 2,150 บาท ในขณะที่ Microsoft Sidewinder X4 Keyboard ราคา 2,290 บาท ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ของไมโครซอฟท์ ฮาร์ดแวร์พร้อมรับประกัน 3 ปี สำหรับ ข้อมูลเพิ่มเติมของผลิตภัณฑ์สามารถศึกษาได้ที่ www.mshardwaresea.com และ http://www.microsoft.com/hardware หากต้องการชมนวัตกรรมที่ไมโครซอฟท์ ฮาร์ดแวร์สร้างสรรค์ขึ้นในช่วงที่ผ่านมา 26 ปี กรุณาเข้าไปที่เว็บไซต์ http://www.microsoft.com/hardware/innovation/history.mspx



ระบบที่รองรับการใช้งาน Arc Keyboard ได้แก่



•ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 7 วินโดวส์ วิสต้า วินโดวส์ เอ็กซ์พี ระบบปฏิบัติการแม็ค เอ็กซ์ เวอร์ชั่น 10.4 – 10.6
•พอร์ทยูเอสบี
•ถ่านแบ็ตเตอรี่ขนาด AAA 2 ก้อน
•การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตสำหรับการติดตั้ง


ระบบที่รองรับการใช้งาน SideWinder X4 Keyboard ได้แก่



•ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 7 วินโดวส์ วิสต้า วินโดวส์ เอ็กซ์พี
•พอร์ทยูเอสบี
•การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตสำหรับการติดตั้ง
 
 

องค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศ

องค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศระบบเทคโนโลยีสารสนเทศนั้นอาจกล่าวได้ว่าประกอบขึ้นจากเทคโนโลยีสองสาขาหลักคือ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม สำหรับรายละเอียดพอสังเขปของแต่ละเทคโนโลยีมีดังต่อไปนี้คือ

1. เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถจดจำข้อมูลต่าง ๆ และปฏิบัติตามคำสั่งที่บอก เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งให้ คอมพิวเตอร์นั้นประกอบด้วยอุปกรณ์ต่าง ๆ ต่อเชื่อมกันเรียกว่า ฮาร์ดแวร์ (Hardware) และอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์นี้จะต้องทำงานร่วมกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์หรือที่เรียกกันว่า ซอฟต์แวร์ (Software) (มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2546: 4)
ฮาร์ดแวร์ ประกอบด้วย 5 ส่วน คือ
อุปกรณ์รับข้อมูล (Input) เช่น แผงแป้นอักขระ (Keyboard), เมาส์, เครื่องตรวจกวาดภาพ (Scanner), จอภาพสัมผัส (Touch Screen), ปากกาแสง (Light Pen), เครื่องอ่านบัตรแถบแม่เหล็ก (Magnetic Strip Reader), และเครื่องอ่านรหัสแท่ง (Bar Code Reader)
อุปกรณ์ส่งข้อมูล (Output) เช่น จอภาพ (Monitor), เครื่องพิมพ์ (Printer), และเทอร์มินัล
หน่วยประมวลผลกลาง จะทำงานร่วมกับหน่วยความจำหลักในขณะคำนวณหรือประมวลผล โดยปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยการดึงข้อมูลและคำสั่งที่เก็บไว้ไว้ในหน่วยความจำหลักมาประมวลผล
หน่วยความจำหลัก มีหน้าที่เก็บข้อมูลที่มาจากอุปกรณ์รับข้อมูลเพื่อใช้ในการคำนวณ และผลลัพธ์ของการคำนวณก่อนที่จะส่งไปยังอุปกรณ์ส่งข้อมูล รวมทั้งการเก็บคำสั่งขณะกำลังประมวลผล
หน่วยความจำสำรอง ทำหน้าที่จัดเก็บข้อมูลและโปรแกรมขณะยังไม่ได้ใช้งาน เพื่อการใช้ในอนาคต
ซอฟต์แวร์ เป็นองค์ประกอบที่สำคัญและจำเป็นมากในการควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
ซอฟต์แวร์ระบบ มีหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ต่าง ๆ ภายในระบบคอมพิวเตอร์ และเป็นตัวกลางระหว่างผู้ใช้กับคอมพิวเตอร์หรือฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ระบบสามารถแบ่งเป็น 3 ชนิดใหญ่ คือ

1. ซอฟต์แวร์ประยุกต์เพื่องานทั่วไป เป็นซอฟต์แวร์ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้งานทั่วไปไม่เจาะจงประเภทของธุรกิจ ตัวอย่าง เช่น Word Processing, Spreadsheet, Database Management เป็นต้น2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์เฉพาะงาน เป็นซอฟต์แวร์ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ในธุรกิจเฉพาะ ตามแต่วัตถุประสงค์ของการนำไปใช้3. ซอฟต์แวร์ประยุกต์อื่น ๆ เป็นซอฟต์แวร์ที่เขียนขึ้นเพื่อความบันเทิง และอื่น ๆ นอกเหนือจากซอฟต์แวร์ประยุกต์สองชนิดข้างต้น ตัวอย่าง เช่น Hypertext, Personal Information Management และซอฟต์แวร์เกมต่าง ๆ เป็นต้น
แผนภาพแสดงกระบวนการจัดการระบบสารสนเทศ
plot.jpg
2. เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม ใช้ในการติดต่อสื่อสารรับ/ส่งข้อมูลจากที่ไกล ๆ เป็นการส่งของข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์หรือเครื่องมือที่อยู่ห่างไกลกัน ซึ่งจะช่วยให้การเผยแพร่ข้อมูลหรือสารสนเทศไปยังผู้ใช้ในแหล่งต่าง ๆ เป็นไปอย่างสะดวก รวดเร็ว ถูกต้อง ครบถ้วน และทันการณ์ ซึ่งรูปแบบของข้อมูลที่รับ/ส่งอาจเป็นตัวเลข (Numeric Data) ตัวอักษร (Text) ภาพ (Image) และเสียง (Voice)
         
เทคโนโลยีที่ใช้ในการสื่อสารหรือเผยแพร่สารสนเทศ ได้แก่ เทคโนโลยีที่ใช้ในระบบโทรคมนาคมทั้งชนิดมีสายและไร้สาย เช่น ระบบโทรศัพท์, โมเด็ม, แฟกซ์, โทรเลข, วิทยุกระจายเสียง, วิทยุโทรทัศน์ เคเบิ้ลใยแก้วนำแสง คลื่นไมโครเวฟ และดาวเทียม เป็นต้น สำหรับกลไกหลักของการสื่อสารโทรคมนาคมมีองค์ประกอบพื้นฐาน 3 ส่วน ได้แก่ ต้นแหล่งของข้อความ (Source/Sender), สื่อกลางสำหรับการรับ/ส่งข้อความ (Medium), และส่วนรับข้อความ (Sink/Decoder) ดังแผนภาพต่อไปนี้ คือ

สำหรับกลไกหลักของการสื่อสารโทรคมนาคมมีองค์ประกอบพื้นฐาน 3 ส่วน ได้แก่ ต้นแหล่งของข้อความ (Source/Sender), สื่อกลางสำหรับการรับ/ส่งข้อความ (Medium), และส่วนรับข้อความ (Sink/Decoder) ดังแผนภาพต่อไปนี้ คือ
แผนภาพแสดงกลไกหลักของการสื่อสารโทรคมนาคม
plot2.jpg


นอกจากนี้ เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถจำแนกตามลักษณะการใช้งานได้เป็น 6 รูปแบบ ดังนี้ต่อไปนี้ คือ
1. เทคโนโลยีที่ใช้ในการเก็บข้อมูล เช่น ดาวเทียมถ่ายภาพทางอากาศ, กล้องดิจิทัล, กล้องถ่ายวีดีทัศน์, เครื่องเอกซเรย์ ฯลฯ2. เทคโนโลยีที่ใช้ในการบันทึกข้อมูล จะเป็นสื่อบันทึกข้อมูลต่าง ๆ เช่น เทปแม่เหล็ก, จานแม่เหล็ก, จานแสงหรือจานเลเซอร์, บัตรเอทีเอ็ม ฯลฯ3. เทคโนโลยีที่ใช้ในการประมวลผลข้อมูล ได้แก่ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์4. เทคโนโลยีที่ใช้ในการแสดงผลข้อมูล เช่น เครื่องพิมพ์, จอภาพ, พลอตเตอร์ ฯลฯ5. เทคโนโลยีที่ใช้ในการจัดทำสำเนาเอกสาร เช่น เครื่องถ่ายเอกสาร, เครื่องถ่ายไมโครฟิล์ม6. เทคโนโลยีสำหรับถ่ายทอดหรือสื่อสารข้อมูล ได้แก่ ระบบโทรคมนาคมต่าง ๆ เช่น โทรทัศน์, วิทยุกระจายเสียง, โทรเลข, เทเล็กซ์ และระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั้งระยะใกล้และไกล
ลักษณะของข้อมูลหรือสารสนเทศที่ส่งผ่านระบบคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร ดังนี้
ข้อมูลหรือสารสนเทศที่ใช้กันอยู่ทั่วไปในระบบสื่อสาร เช่น ระบบโทรศัพท์ จะมีลักษณะของสัญญาณเป็นคลื่นแบบต่อเนื่องที่เราเรียกว่า "สัญญาณอนาลอก" แต่ในระบบคอมพิวเตอร์จะแตกต่างไป เพราะระบบคอมพิวเตอร์ใช้ระบบสัญญาณไฟฟ้าสูงต่ำสลับกัน เป็นสัญญาณที่ไม่ต่อเนื่อง เรียกว่า "สัญญาณดิจิตอล" ซึ่งข้อมูลเหล่านั้นจะส่งผ่านสายโทรศัพท์ เมื่อเราต้องการส่งข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังเครื่องอื่น ๆ ผ่านระบบโทรศัพท์ ก็ต้องอาศัยอุปกรณ์ช่วยแปลงสัญญาณเสมอ ซึ่งมีชื่อเรียกว่า "โมเด็ม" (Modem)

เทคโนโลยีสารสนเทศ

   Information Technology หรือ IT คือ การประยุกต์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในระบบสารสนเทศ ตั้งแต่กระบวนการจัดเก็บ ประมวลผล และการเผยแพร่สารสนเทศ เพื่อช่วยให้ได้สารสนเทศที่มีประสิทธิภาพและรวดเร็วทันต่อเหตุการณ์ โดยเทคโนโลยีสารสนเทศ อาจประกอบด้วย
           
1. เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องใช้สำนักงาน อุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคมต่างๆ รวมทั้งซอฟท์แวร์ทั้งแบบสำเร็จรูปและแบบพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในงานเฉพาะด้าน ซึ่งเครื่องมือเหล่านี้จัดเป็นเครื่องมือทันสมัย และใช้เทคโนโลยีระดับสูง (High Technology)
           
2. กระบวนการในการนำอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ ข้างต้นมาใช้งาน เพื่อรวบรวม จัดเก็บ ประมวลผล และแสดงผลลัพธ์เป็นสารสนเทศในรูปแบบต่างๆ ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ต่อไป เช่น การจัดเก็บข้อมูลในลักษณะของฐานข้อมูล เป็นต้น




 




ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ


สามารถอธิบายความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศในด้านที่มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้านต่าง ๆ ของผู้คนไว้หลายประการดังต่อไปนี้
ประการที่หนึ่ง เทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้สังคมเปลี่ยนจากสังคมอุตสาหกรรมมาเป็นสังคมสารสนเทศ 
ประการที่สอง เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้ระบบเศรษฐกิจเปลี่ยนจากระบบแห่งชาติไปเป็นเศรษฐกิจโลก ที่ทำให้ระบบเศรษฐกิจของโลกผูกพันกับทุกประเทศ ความเชื่อมโยงของเครือข่ายสารสนเทศทำให้เกิดสังคมโลกาภิวัฒน์ 
ประการที่สาม เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้องค์กรมีลักษณะผูกพัน มีการบังคับบัญชาแบบแนวราบมากขึ้น หน่วยธุรกิจมีขนาดเล็กลง และเชื่อมโยงกันกับหน่วยธุรกิจอื่นเป็นเครือข่าย การดำเนินธุรกิจมีการแข่งขันกันในด้านความเร็ว โดยอาศัยการใช้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และการสื่อสารโทรคมนาคมเป็นตัวสนับสนุน เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลได้ง่ายและรวดเร็ว 
ประการที่สี่ เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเทคโนโลยีแบบสุนทรียสัมผัส และสามารถตอบสนองตามความต้องการการใช้เทคโนโลยีในรูปแบบใหม่ที่เลือกได้เอง
ประการที่ห้า เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดสภาพทางการทำงานแบบทุกสถานที่และทุกเวลา
ประการที่หก เทคโนโลยีสารสนเทศก่อให้เกิดการวางแผนการดำเนินการระยะยาวขึ้น อีกทั้งยังทำให้วิถีการตัดสินใจ หรือเลือกทางเลือกได้ละเอียดขึ้น 
            กล่าวโดยสรุปแล้ว เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทที่สำคัญในทุกวงการ มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงโลกด้านความเป็นอยู่ สังคม เศรษฐกิจ การศึกษา การแพทย์ เกษตรกรรม อุตสาหกรรม การเมือง ตลอดจนการวิจัยและการพัฒนาต่าง ๆ